วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโปรแกรม Goole Sketchup กัน
เชื่อว่าสำหรับวิศวกร สถาปนิกหรือคนที่ทำงานเกี่ยวกับงานกราฟฟิค
น่าจะเคยใช้งานหรือเคยเห็น เคยได้ยินชื่อโปรแกรมนี้ผ่านหูผ่านตามาบ้าง
สำหรับโปรแกรม Google Sketchup 8 นี้จะมีอยู่ 2 เวอร์ชั่นคือ Google
Sketchup 8 และ Google SketchupPro 8
ข้อแตกต่างของ 2 เวอร์ชั่นนี้คือ Google Sketchup 8 จะเป็นฟรีแวร์
และ Google SketchupPro 8 จะเป็นแชร์แวร์โดยใน Google SketchupPro 8
จะมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมสำหรับใช้งานมากขึ้น(มีอะไรบ้าง
ไว้ว่ากันตอนท้ายครับ) โปรแกรม Google Sketchup 8
เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบชิ้นงาน 3 มิติ
สามารถสร้างชิ้นงานรูปทรงเรขาคณิตต่างๆได้ง่าย
โดยส่วนใหญ่จะเห็นเป็นรูปบ้านหรืออาคารเป็นส่วนใหญ่
แต่ก็สามารถใช้ในการปั้นรูปทรงที่มีความซับซ้อนมากๆ เช่น รูปสัตว์ ต้นไม้
ยานพาหนะ หรือเครื่องกลต่างๆ(เพียงแต่อาจจะใช้ยากกว่า 3Ds Max
บ้างเรียกว่าเก่งคนละแบบละกันครับ)
โปรแกรม Google Sketchup 8 ใช้ยากไหม?
ถ้าผู้เริ่มใช้งานเคยใช้โปรแกรมเขียนแบบมาก่อน
คงไม่ยากสำหรับการฝึกหัดใช้งาน Google Sketchup 8
(แรกๆอาจจะงงกับมุมมองอยู่บ้าง)
แต่ถ้าไม่เคยใช้งานมาเลยคงต้องความพยายามมากขึ้นอีกนิดนึงครับ
ในส่วนนี้โปรแกรม Google Sketchup มีคำสั่ง Components
สำหรับค้นหาชิ้นงานที่เคยมีคนเขียนไว้ก่อนและได้แชร์เอาไว้
เพื่อให้ผู้ใช้งานอื่นๆนำมาใช้งานต่อได้เลย
ซึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถนำชิ้นงานของตนที่สร้างจากโปรแกรมมาแชร์เพื่อใช้งาน
ร่วมกันได้ ข้อดีอีกอย่างของโปรแกรม Google Sketchup 8
คือใช้ทรัพยากรของระบบไม่มากนัก
ลักษณะการทำงานโดยรวมของโปรแกรม จะเป็นการสร้างรูปทรงจาก 2
มิติเป็น 3 มิติทีละชิ้น สามารถกำหนดลักษณะของพื้นผิววัสดุ
จัดตำแหน่งของวัตถุ กำหนดลักษณะทิศทางของแสงหรือสีของท้องฟ้าได้
นอกจากนี้โปรแกรม Google Sketchup 8 ยังสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรม 3
มิติอื่นๆ เช่น 3dsMax หรือ AutoCad ได้
และไฟล์ติดตั้งของโปรแกรมมีขนาดเล็กและใช้ทรัพยากรไม่มากนัก
สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่
หากต้องการจัดลักษณะของพื้นผิวหรือแสง เงา ให้สมจริงยิ่งขึ้นสามารถเพิ่ม
Plug in สำหรับ Google Sketchup เช่น V-ray หรือ Podium
(แต่เป็นแชร์แวร์นะครับ)
สำหรับโปรแกรม Google SketchupPro 8
จะมีการเพิ่มเติมคำสั่งสำหรับจัดการชิ้นงาน 3 มิติ , การทำงานร่วมกับ
Google Map และ Google Earth
สำหรับสร้างแผนที่ทางภูมิศาสตร์หรือนำอาคารที่ออกแบบไปวางบน Google Earth ,
การแปลงไฟล์ไปเป็นรูปแบบ .dwg หรือ .dwf , การคำนวณปริมาณของชิ้นงาน
หรือสร้าง Layout แสดงมุมมองต่างๆของชิ้นงานได้
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอยู่ค่อนข้างมาก อาทิเช่น ฟังก์ชั่น Outer
Shell , Scene Thumbnails , Precise Move in LayOut หรือ Match Photo
เป็นต้น
หวังว่าจะให้ประโยชน์กับเพื่อนๆได้มากนะครับ ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น